วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบเทคโนโลยี

เทคโนโลยีกับการออกแบบ     เทคโนโลยี  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น  เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักร  วัสดุต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น  กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นต้น
     1.  ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
          เราสามารถนำเครื่องใช้ที่ได้จากเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้  ดังนี้ค่ะ
          1.  ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน  เช่น
               -   ใช้รถบรรทุกดินมาถมที่  เพื่อสร้างอาคารบ้านเรือน  หรือที่อยู่อาศัย
               -  ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่มให้ได้ครั้งละมาก ๆ โดยใช้เวลาน้อยลง
               -  ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้ได้นาน ๆ
               -  นำเทคโนโลยีและกระบวนการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
          2.  ทำให้มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน  เช่น
               -  ขับรถยนต์ไปทำงานหรือไปที่ต่าง ๆ
               -   ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
               -  ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลเรื่องที่ต้องการทราบ
               -  ใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือ
               -  ใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการกวาดพื้นด้วยไม้กวาด
ตัวอย่าง  ผลกระทบการใช้เทคโนโลยี
    
การใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนเราสะดวกสบายมากขึ้น  แต่เราก็ควรใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย  เพื่อไม่ให้เกิดความเดือนร้อนนะคะ
     การใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง
     -  เปิดวิทยุเสียงดังพอประมาณ  ทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน
     -  ขับรถด้วยความระมัดระวัง  ทำให้ชีวิตาปลอดภัย
     การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง
     -  เปิดวิทยุเสียงดังมากรบกวนผู้อื่น  ทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ
     -  ขับรถประมาท  ทำให้เกิดอุบัติเหตุ  อาจสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
     2.  กระบวนการเทคโนโลยี
         
การนำกระบวนการของเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ  สร้าง  และพัฒนาของใช้  มีดังนี้
          กระบวนการเทคโนโลยี
          1.  ค้นหาปัญหาหรือสาเหตุ
          2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหาและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
          3.  ออกแบบและปฏิบัติตามแนวทางที่คิดไว้
          4.  นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไข
     3.  ความสำคัญและประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี
         
กระบวนการเทคโนโลยีมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการทำงาน  ดังนี้
          1)  ช่วยให้ได้งานที่มีความสวยงาม  ทั้งรูปร่าง  รูปทรง  โดยอาศัยวิธีการออกแบบในลักษณะต่าง ๆ
          2)  ช่วยให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์  และสามารถนำไปใช้ได้จริง  เพราะว่ามีการออกแบบและปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
          3)  ทำให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากร  โดยนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
          4)  ช่วยให้ทำงาน  และพัฒนางานประดิษฐ์อย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับและได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ
     4.  การออกแบบ  สร้าง  และพัฒนาของใช้
         
เราสามารถนำกระบวนการเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์ของใช้ได้  เช่น
          1.  หาปัญหาหรือสาเหตุ                         ต้องการถุงใส่ของ  เพราะกระเป๋านักเรียนไม่สามารถใส่ของที่ต้องการ
                                                                นำไปโรงเรียนได้หมด
          2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหา                            o ซื้อถุงกระดาษมาใส่
               และเลือกทางที่ดีที่สุด                       o ขอถุงพลาสติกจากแม่ค้า
                                                                þ ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ
          3.  ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง                     ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ
          ถุงผ้าใส่ของ
          วัสดุ – อุปกรณ์
          1.  เสื้อยืดที่ไม่ใส่แล้ว 1 ตัว
          2.  สายผ้าสำหรับทำหูถุง
          3.  เข็ม  ด้าย
          4.  กรรไกร
          วิธีทำ
          1.  นำเสื้อมาตัดตรงส่วนแขนและคอออก  แล้วกลับเอาด้านในออก
          2.  เย็บริมผ้าด้านที่ตัดออกให้เป็นก้นถุง  พลิกผ้าเอาด้านนอกออกจะได้ตัวถุง  นำสายผ้ามาเย็บเป็นส่วนหูของถุง  จะได้ถุงผ้าสำหรับใส่ของที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ  และยังมีลวดสายแปลกใหม่  สวยงาม  นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

5.องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ


องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษUnited Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า
Cquote1.svg
สงครามเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องสร้างความหวงแหนสันติภาพ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วย...
Cquote2.svg
นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่างๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ. ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ. ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ปัจจุบัน (มีนาคม พ.ศ. 2548) ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 191 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49)
โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก และการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน
การดำเนินงานของยูเนสโกนั้น จะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุกๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี
ยูเนสโก ได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาค และสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโก ประสานงานกับประเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้นๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

เนื้อหา

 [ซ่อน]

4.หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์


การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้

1. ความเป็นหน่วย (Unity) 
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) 
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing) 
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) 
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate) 
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

3.3 จังหวะ ( Rhythem) 
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

3.4 ความต่างกัน ( Contrast) 
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ

• หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION)

• ความปลอดภัย (SAFETY)

• ความแข็งแรง (CONSTRUCTION)

• ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS)

• ความสวยงาม (AESTHETIES)

• ราคาพอสมควร (COST)

• การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE)

• วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION)

• การขนส่ง (TRANSPORTATION)

1 หน้าที่ใช้สอย

หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่าเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่ามีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2 ความปลอดภัย

สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใดย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญมีการออกแบบบางอย่างต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดาแต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลมจะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไปเพื่อความปลอดภัยสำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่นเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

3 ความแข็งแรง

ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่าถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรงจะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

4 ความสะดวกสบายในการใช้

นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์

5 ความสวยงาม

ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชาทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

6 ราคาพอสมควร

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้วผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้นก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุและเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้วปรากฏว่าราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นเรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย

7 การซ่อมแซมง่าย

หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย

8 วัสดุและวิธีการผลิต

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบแต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้งโดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ที่เรียกว่า “ รีไซเคิล ”

9 การขนส่ง

นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น



3.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 หลายคำถามเกี่ยวกับ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่



กลับมาระบาดอีกครั้งสำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่ง ณ วันนี้กลายเป็นหนึ่งในโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไปแล้ว และล่าสุด มีผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก


          ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่ม เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2010 ฟรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ตุลาคม 2553 ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ  โดยวัคซีน 1 เข็ม ครอบคลุมโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดใหญ่ชนิด B และไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ H3N2 (ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) วันนี้กระปุกดอทคอม จึงมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2010 มาบอกกันค่ะ


ใครคือบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีน


          1. หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 7 เดือนขึ้นไป


          2. คนอ้วนน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมขึ้นไป


          3. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้


           4. บุคคลอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งอยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันผิดปกติ


          5. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


          6. เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี


          7. บุคลากรสาธารณสุขและผู้มีหน้าที่กำจัดซากสัตว์ปีก


           ทั้งนี้ สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง สามารถติดต่อสอบถามไปยังโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชนที่ให้บริการ เพื่อขอฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อวัคซีน 1 เข็มแตกต่างกันตามแต่ละโรงพยาบาล


ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน


ผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ คือ


          ผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ หรือโปรตีนจากไก่ หรือไข่


          ผู้ที่เคยแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน


          ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง


          เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน


          ผู้ที่กำลังมีไข้ หรือมีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน


          ผู้ที่มีอาการโรคประจำตัวกำเริบ ไม่สามารถควบคุมได้


          แต่หากเป็นหวัดเล็กน้อย และไม่มีไข้ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้


ช่วงเวลาที่เหมาะในการฉีดวัคซีน


           ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูผล ก่อนเกิดการระบาดของโรค และช่วงก่อนฤดูหนาวในเดือนตุลาคม โดยวัคซีนนี้ต้องฉีดซ้ำทุก 1 ปี เนื่องจากแต่ละปีเชื่อไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ จึงต้องมีการผลิตวัคซีนขึ้นมาใหม่ทุก ๆ ปี


วัคซีนสามารถป้องกันได้เมื่อไหร่


           หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว จะต้องใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไข้หวัดใหญ่ชนิด B และไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ H3N2 (ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) แต่วัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ หรือโรคหวัดทั่วไปได้


อาการหลังฉีดวัคซีน


           ผู้ที่ฉีดวัคซีนบางคนอาจมีอาการบวมแดง ปวด เป็นตุ่มนูนบริเวณที่ฉีด บางคนอาจเป็นไข้ มีอาการปวดเมื่อยตามมา แต่จะหายได้เองภายใน 1-2 วัน แต่หากใครเกิดอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หายใจเสียงดัง เกิดลมพิษ หน้าซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ ให้รีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจแพ้วัคซีนดังกล่าว


หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 มาก่อน จะฉีดวัคซีนตัวนี้ได้อีกหรือไม่


           สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ได้อีก เนื่องจากเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไปแล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานอยู่ได้ประมาณ 6 - 12 เดือน หากฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์เข้าไปอีก จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย





2.ความปลอดภัยในชีวิต

ความปลอดภัยในชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
และความปลอดภัย

     ปัจจัยเสี่ยง   หมายถึง  
องค์ประกอบด้านกายภาพ   สังคม   หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 
ชีวิต   หรือทรัพย์สิน   พฤติกรรมเสี่ยง   หมายถึง  
การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ชีวิต   หรือทรัพย์สิน  
ในปัจจุบันโลกมีความเจริญขึ้นแต่ความปลอดภัยกลับลดน้อยลง 
ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพความปลอดภัยมากมายในที่นี้จะขอนำเสนอเพียงบางส่วนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตคนเรา
1.
พฤติกรรมสุขภาพ   เป็นการปฏิบัติตนที่มีผลต่อสุขภาพ   หากปฏิบัติตนไม้เหมาะสมจะทำ

ให้สุขภาพเสื่อมลง  เช่น  การไม่ออกกำลังกาย   การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 
การใช้สารเสพติดการสำส่อนทางเพศ  การพักผ่อนไม่เพียงพอ  การไม่ระวังโรคติดต่อ 
เป็นต้น  
2.การสัญจร   โดยพาหนะทั้งที่เป็นรถยนต์รถจักรยานยนต์   รถไฟ  เรือ  
เครื่องบิน   เป็นต้น

ยิ่งมีการสัญจรเดินทางมากอุบัติเหตุก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

3.สิ่งแวดล้อม    ในปัจจุบันมีมลพิษมากมากทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลง   ดังนั้น 
คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีขยะส่งกลิ่นเหม็น   น้ำเน่า  อากาศเป็นพิษ 
มีพวกมิจฉาชีพมากสารเสพติดแพร่ระบาดมาก 
ใกล้โรงอุตสาหกรรมสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตารายต่อสุขภาพและชีวิตมากพอสมควร  

4. การอุปโภค  
คือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆปัจจุบันมีเครื่องอุปโภคที่แฝงไว้ด้วยพิษภัย

หลายอย่าง  เช่น  เครื่องสำอาง   เตาแก๊ส   เครื่องใช่ไฟฟ้า   เป็นต้น 
ซึ่งถ้าไม่รู้จักเลือกใช้หรือใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นอันตรายได้เหมือนกัน 

5.การบริโภค   ปัจจุบันอาหาร การกิน    มีสารพิษปนเปื้อนมากมาย   เช่น
ขนมผสมสีย้อมผ้า   ปลาเค็มฉีดดีดีที   ปลาสด แช่สารฟอร์มาลีน    ผักมีสารพิษ 
สิ่งเหล่านี้ เข้าไปสะสมในร่างกายจนถึงระยะหนึ่งเมื่อ
สะสมมากขึ้นจะทำไห้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ  
โรคภัยไข้เจ็บจะเบียดเบียนทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่ปลอดภัย
6.
อุบัติเหตุในบ้าน   การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนกัน

อ้างอิง:http://www.thaigoodview.com/node/52146

1.สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
น้ำกะเพรา : บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ








บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยให้ลำไส้ทำงานได้สะดวกวิธีทำ ใช้ใบกะเพราตากแห้งสนิท ประมาณ 1/2 ถ้วย น้ำมะนาวสด น้ำตาลทรายแดง เกลือป่น และน้ำสะอาด 2-4 ถ้วย ต้มน้ำให้เดือด ใส่ใบกะเพราตากแห้ง เคี่ยวไปประมาณ 10 นาที เติมน้ำตาลทรายแดง พอน้ำตาลละลายยกลง ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำ (ควรใส่ภาชนะเคลือบที่ใช้อุ่นไฟได้เพื่อเอาไว้อุ่นดื่มร้อนๆ) เวลาดื่มเติมรสชาติด้วยน้ำมะนาวสด และเกลือตามชอบ



















อ้างอิง:http://www.samunpri.com