วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

ตัวอย่างโครงงานที่1
เรื่อง  เหลืองอร่ามงามตา


โครงงาน              เรื่อง  เหลืองอร่ามงามตา


จัดทำโดย

เด็กหญิงรุ้งนภา  สระทองที
เด็กหญิงประภัสสร  เอี่ยมจาตุ
เด็กหญิงวิชุดา  กลิ่นเทียน
เด็กหญิงมัสเกศ  สารีวงศ์
เด็กหญิงอารียา  บุญเกิน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/10

ครูที่ปรึกษา
ครูวริษฐา  ลิโมภาสิทธิ์
โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 1
บทคัดย่อ

          ฟักทองมีประโยชน์ต่อร่างกาย  มีวิตามินเอ   เบต้าแคโรทีนสูง  แคลเซียม และฟอสฟอรัส  ฯลฯ  และเพื่อสะดวกในการรับประทานอาจนำมาทำเป็นน้ำฟักทอง  ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี  ประหยัดค่าใช้จ่าย  ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์  และนำไปทำดื่มในครอบครัว

           



















กิตติกรรมประกาศ

          ดิฉันขอขอบพระคุณผู้จัดทำหนังสือเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  และคุณแม่ที่ช่วยแนะนำวิธีการทำน้ำสมุนไพร  และขอขอบพระครูที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำเรื่องการทำน้ำสมุนไพร





















คำนำ

            รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงงาน  การงานอาชีพและเทคโนโลยี                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ดิฉันได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ   โดยปฏิบัติจริงจากเอกสาร  รวบรวมข้อมูล  เพื่อศึกษา


คณะผู้จัดทำ



















สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                    
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                      
คำนำ                                                                                                                          
สารบัญ                                                                                                                       
บทที่ 1             บทนำ                                                                                                  1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                     1
วัตถุประสงค์                                                                                       1
สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า                                                                1
บทที่ 2             เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                               2
บทที่ 3             อุปกรณ์และวิธีการศึกษาค้นคว้า                                                         4
อุปกรณ์และวัตถุที่ใช้ในการศึกษา                                                      5
วิธีการศึกษา                                                                                        5
บทที่ 4             ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา                                                           6
บทที่ 5             สรุปผลการศึกษา                                                                                7
ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                                7
ข้อเสนอแนะ                                                                                       8
บรรณานุกรม                                                                                       9







บทที่  1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
            กลุ่มของข้าพเจ้าได้สนใจฟักทองเพราะมีประโยชน์ทางร่างกาย  มีวิตามินเอ               เบต้าแคโรทีนสูง  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  ฯลฯ  และน่าจะนำฟักทองทำเป็นน้ำดื่มเพื่อดื่มแทนน้ำอัดลม  ถ้าเราดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ  จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร  กลุ่มของข้าพเจ้าจึงทำโครงงานเหลืองอร่ามงามตาขึ้น
วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
            1.  เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง
            2.  ช่วยประหยัดเงินและช่วยรักษาโรค
            3.  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
            4.  ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
สมมติฐานการศึกษา
            ทุกคนต้องหันมาดื่มน้ำฟักทองแทนน้ำอัดลมได้และได้รับประโยชน์ของฟักทองด้วย






บทที่  2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง

ฟักทอง                       Pumpkin , Cushaw , winter  squash
ชื่อวิทยาศาสตร์           Cucurbita  moschata  Deene
วงศ์                              CUCURBITACEAC
ชื่ออื่น  น้ำเต้า (ภาคใต้)  มะน้ำแก้ว (เลย)  มะพักแก้ว (ภาคเหนือ)  หมากอี (ภาคอีสาน)
ใช้เป็นอาหาร  ยอดและผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก  และใช้แกงส้ม  แกงเลียง  ผัดผัก  ผลแก่ใช้แกงหลากหลาย  และทำของหวาน  ทำน้ำผลไม้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           
วิตามิน
ประโยชน์
วิตามินเอ
วิตามินบี  2 ,4 ,6 ,8
ฟอสฟอรัส
แคลเซียม
วิตามินซี
โปรตีน
สารสีเหลือง
เบต้าแคโรทีนสูง
ใช้ขับพยาธิ
ช่วยบำรุงสายตา
แก้นิ่วในกระเพาะ
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ชะลอความแก่ชรา




บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน  1  - 29 สิงหาคม  2551

สัปดาห์ที่
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
สถานที่ทำกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
1
1 สิงหาคม 2551
-  เลือกหัวข้อเรื่องการทำโครงงานและ
    นำเสนอครู พร้อมทั้งเหตุผลในการ
     นำเสนอครูพร้อมทั้งแสดงความ
     คิดเห็นและให้เหตุผล

ห้องเรียน ห้อง 112



ครูที่ปรึกษา
และ
นักเรียน
2
8 สิงหาคม 2551
-  ประชุมในกลุ่มให้ทุกคนเตรียม 
   อุปกรณ์ต่างๆ

ห้องเรียน  ห้อง 112

ผู้จัดทำโครงการ
ครูที่ปรึกษา
3
15 สิงหาคม 2551
-  ลงมือปฏิบัติจริง  โดยสมาชิกในกลุ่ม
   ช่วยกันปฏิบัติ
ห้องเรียน  ฝ 301
ห้องฝึกงาน

ผู้จัดทำ
4
22 สิงหาคม 2551
-  เสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน
-  สรุปประเมินผล

ห้องเรียน  ห้อง 112

ผู้จัดทำ
5
29 สิงหาคม 2551

-  รายงานหน้าห้อง

ห้องเรียน  ห้อง 112

ผู้จัดทำ







วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
วัสดุ
1.  เนื้อฟักทอง                         1     ถ้วย
2.  น้ำเชื่อม                              ½    ถ้วย
3.  น้ำต้มสุก                            ½    ถ้วย  
4.  เกลือ
อุปกรณ์
1.  หม้อ           
2.  มีด             
3.  เครื่องปั่น               
4.เขียง             
5.กะละมัง
วิธีการศึกษา
1  เลือกฟักทองแก่จัด  ปอกเปลือกเอาเม็ดออก แล้วล้างฟักทองให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นใหญ่
    ได้  1 ถ้วย
2.  แล้วนำไปนึ่งให้สุก  เอาไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้าพร้อมกับน้ำเชื่อม  น้ำต้ม
3.  ดื่มโดยไม่ต้องเติมน้ำแข็ง  จะได้น้ำฟักทองสีเหลืองรสชาติหวานมัน
ผลจากการศึกษา
1.  ค้นคว้าข้อมูลประโยชน์ของฟักทอง
2.  ค้นหาข้อมูลวิธีทำฟักทอง
3.  ค้นหาประวัติของฟักทอง




บทที่  4
ผลการศึกษา

1.  ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องดื่ม
2.  ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำสมุนไพร
3.  ได้น้ำผลไม้ท้องถิ่นมาแปรรูป


กล่องข้อความ:








กล่องข้อความ:










บทที่  5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
            จากการทดลองทำน้ำฟักทองเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย              ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสามารถนำมาใช้ดื่มภายในครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
            1.  ได้ศึกษาการทำน้ำสมุนไพร
            2.  ได้รู้จักการทำน้ำฟักทอง
            3.  ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ข้อเสนอแนะ
            ควรทำน้ำผลไม้ดื่มเองเพราะเป็นวิธีที่ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวได้







บัญชีรายรับ รายจ่าย

รายรับ
รายจ่าย

ว/ด/ป
ลำดับที่

รายการ
จำนวนเงิน

ว/ด/ป
ลำดับที่

รายการ

จำนวน
ราคา
จำนวนเงิน
หมายเหตุ
15/8/51
1
รับเงินจากเพื่อนคนละ
10 บาท
50
15/8/51
1
2
3

ฟักทอง
น้ำตาล
เกลือ
1 ถ้วย
½ กก.
1ช.ช.
22
20
1
11
10
1















บรรณานุกรม

พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ ,  น้ำสมุนไพร  พิมพ์ครั้งที่  2 .กรุงเทพ ; บริษัท  เฟื้องฟ้า  พริ้นติ้ง 
         จำกัด. 2536, 231  หน้า.



 ตัวอย่างโครงงานที่2
เรื่อง  น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว


โครงงาน              เรื่อง  น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว


จัดทำโดย

เด็กหญิงณัฏฐพร  ทองเชื้อ
เด็กหญิงสรนันท์  นุ่มจุ้ย
เด็กหญิงสุภาพร  บัวเทศ
เด็กหญิงดวงกมล  สมบูรณ์โชคดี
เด็กหญิงฐนันทิพย์  เตชะศิลปภักดี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/13

ครูที่ปรึกษา
อาจารย์วริษฐา  ลิโมภาสิทธิ์
โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 1
บทคัดย่อ

          มะกรูด  เป็นสมุนไพรที่อยู่ในบ้านของทุกคน  และหาได้ง่ายในบ้านของเรา                     ซึ่งมะกรูดสามารถรับประทานได้ทั้งใบและผล  เราจึงอยากนำมะกรูดมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
            จากการศึกษาและค้นคว้าด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า  มีข้อมูลที่น่าสนใจ  คือ  สารที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะสำคัญในการขจัดสารพิษมากมาย  ซึ่งสารที่ว่านี้ได้มาจากมะกรูด
            โครงงาน  น้ำมะกรูดสูตรข้างครัว  มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน  โดยนำมะกรูดมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  และยังเป็นการนำ    สิ่งที่หาได้ง่ายภายในบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสามัคคี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  แก่คนในกลุ่มอีกด้วย
           















กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณป้าสุนีย์  สมบูรณ์โชคดี ที่ให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการทำน้ำมะกรูดสมุนไพร  ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างละเอียด                  ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง  ขอบพระคุณ  ครูวริษฐา  ลิโมภาสิทธิ์  ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน  อำนวยความสะดวกจัดหาอุปกรณ์  อุทิศเวลา  และเป็น            ที่ปรึกษาโครงงาน  โดยเฉพาะการนำเสนอที่ถูกต้อง
            สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนนักเรียน ชั้น ม.1/13 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ  ให้ข้อแนะนำเสนอแนะ  ทำให้ผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี


คณะผู้จัดทำ















คำนำ

            รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงงาน  การงานอาชีพและเทคโนโลยี                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ในหัวข้อ  น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว
            คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาจากหนังสือ  ผลไม้และเครื่องดื่มผสม  รวบรวมข้อมูลและเก็บบันทึกข้อมูล  เพื่อศึกษาสมุนไพรที่ช่วยในการบำรุงร่างกายมนุษย์เราให้แข็งแรง
            ด้วยความตั้งใจ  สามัคคี  ในการนำเสนอโครงงานชิ้นนี้  เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั่วไป


คณะผู้จัดทำ


















สารบัญ
       หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                    
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                      
คำนำ                                                                                                                          
สารบัญ                                                                                                                       
บทที่ 1  บทนำ                                                                                                             1
            ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                                            1
สมมติฐานการศึกษา                                                                                        1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                             1
บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                          2         
เอกสารอ้างอิง                                                                                                  3
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา                                                   4
บทที่ 3  วิธีการดำเนินโครงงาน                                                                                   5
ตารางปฏิบัติกิจกรรม                                                                                      6
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา                                                   7
วิธีการศึกษา                                                                                                    8
บทที่ 4  ผลการศึกษา                                                                                                   9
ผลการศึกษา                                                                                                    10
การศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                                      11
บทที่ 5  สรุปผลการศึกษา                                                                                            12
สรุปผลการศึกษา                                                                                            13
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน                                                                      14
ข้อเสนอแนะ                                                                                                   15
บรรณานุกรม                                                                                                   16


บทที่  1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
            เนื่องจากมะกรูดเป็นสมุนไพรที่หาง่ายในบ้าน  และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  เราจึงคิดนำผลมะกรูดมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  ที่ง่ายต่อการรับประทาน  และสามารถทำกินเองได้ภายในครอบครัว

วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
            1.  เพื่อแปรรูปสมุนไพรให้ง่ายต่อการรับประทานยิ่งขึ้น
            2.  เพื่อศึกษาวิธีทำเครื่องดื่มง่ายๆ  จากสมุนไพรใกล้ตัว

สมมติฐานการศึกษา
            สามารถนำมะกรูดมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรที่ง่ายต่อการดื่ม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
            1.  ได้รับความรู้จากการทำน้ำมะกรูด
            2.  ได้รับประโยชนจากการทำน้ำมะกรูด
            3.  ฝึกฝนความอดทน
            4.  ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค




บทที่  2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง

มะกรูด                         (Ma-krut) , Kaffir lime , leech  lime
ชื่อวิทยาศาสตร์           Citrus  hystrix  DC.
วงศ์                             RUTACEAR
ถิ่นกำเนิด                     มาเลยเซีย  พม่า  ไทย  อินโดนีเซีย  สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์  อินเดีย
รูปลักษณ์                     ไม้พุ่มขนาดใหญ่  ลำต้นเกลี้ยงเกลากิ่งก้านมีหนามแหลม  ใบสีเขียวหนา  มีกลิ่นหอมฉุน  มีน้ำมันหอมระเหย  ออกดอกเป็นช่อสีเขียวมีนวลเหลืองบ้าง  ลูกกลมผิวหนาขรุขระ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
                                    ใบ   -               มีน้ำมันหอมระเหย  ใช้ประกอบอาหาร
                                    ผล   -  ใช้แต่งกลิ่น  สระผม
                                    ผิวจากลูก   -   บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้  แก้แน่น
                                    ราก   -   ถอนพิษ  แก้ปวดท้อง  แก้พิษฝีภายใน
ลูกมะกรูด   -               หมักดองเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม  รับประทานฟอกล้างและบำรุงโลหิต
ชื่อท้องถิ่น                   ภาคเหนือ         เรียก   มะขูด , มะขุน
                                    ภาคใต้             เรียก   ส้มกรูด , ส้มมั่วผี
                                    เขมร                เรียก   โกร้ยเขียด
                                    กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน   เรียก   มะขู
ลักษณะทั่วไป   มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน  ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว  สีเขียวหนา  มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ  มีก้าน แผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ  ทำให้เห็นใบเป็น  2 ตอน  ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา  มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่  ดอก  ออกเป็นกระจุก  3 - 5 ดอก  กลีบดอกสีขาว  ร่วงง่าย  ผลมีหลายแบบแล้วแต่พันธ์ผลเล็กเท่ามะนาว  ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัว
การปลูก  มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
            1.   ผิวผลสดและผลแห้ง  รสปร่า  หอมร้อน  สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด  แก้วิงเวียน  บำรุงหัวใจ  ขับลมลำไส้  ขับระดู
            2.   ผล  รสเปรี้ยว  มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ  แก้ไอ  แก้น้ำลายเหนียว  ฟอกโลหิต       ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ  ขจัดรังแค
            3.   ราก  รสเย็นจืด  แก้พิษฝีภายใน  แก้เสมหะ  แก้ลมจุกเสียด
            4.   น้ำมะกรูด  รสเปรี้ยว  กัดเสมหะ  ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
            5.   ใบ  รสปร่าหอม  แก้ไอ  แก้อาเจียนเป็นโลหิต  แก้ช้ำใน  และดับกลิ่นคาว
คติความเชื่อ   มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน  โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  (พายัพ)  เพื่อผู้อยู่อาศัยจะได้มีความสุข  และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า  ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม  โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ  จะหยุดเดิน  เจ้าของจะต้องขุดผิวมะนาวหรือมะกรูด  ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน  โค  กระบือ  จึงจะเดินต่อไป  ดังนั้นการเดินทางสมัยก่อนผ่านป่า  ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาวและมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ  ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์  สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้  โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย  ใบเงินใบทอง  ใบมะตูม  หญ้าแพรก  หมากผู้หมากเมีย  ในราชพฤกษ์เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โดยตกลงไปได้
ใบมะกรูดมหัศจรรย์กำจัดแมลงในข้าวสาร
ผลมะกรูด        รักษาชันนะตุและแผลบนศีรษะด้วยมะกรูดได้
-ใช้น้ำคั้นที่ได้จากผลมะกรูดหรือนำผลมะกรูดเผาไฟผ่าซีกบีบเอาน้ำและน้ำมันจากผิวมะกรูด  ผสมน้ำ  1 เท่า  ใช้สระผมแทนแชมพู  แล้วลาดออก





บทที่  3
วิธีการดำเนินโครงงาน

ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน  1  - 29 สิงหาคม  2551

สัปดาห์ที่
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
สถานที่ทำกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
1
1 สิงหาคม 2551
-  เลือกหัวข้อการทำโครงงานและ
    นำเสนอครู พร้อมทั้งเหตุผลในการทำ
-  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร 
    หนังสือจากห้องสมุด
-  กำหนดการศึกษาจากวิทยากร

ห้องเรียน ห้อง 112

ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมฐานบินฯ

สมาชิกในกลุ่ม

ครูที่ปรึกษา
2
8 สิงหาคม 2551
-  ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์
    ส่วนค่าใช้จ่าย เก็บคนละ  5 บาท
    และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 
    ติดต่อวิทยากรท้องถิ่น

ห้องเรียน  ห้อง 112

สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
3
15 สิงหาคม 2551
-  ลงมือปฏิบัติทำน้ำมะกรูด
-  ให้คุณครู  ผู้ปกครองและเพื่อน
    ร่วมประเมินรสชาติของน้ำมะกรูด

ห้องเรียน  ห้อง 112

สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
4
22 สิงหาคม 2551
-  เขียนรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม
    และสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม
ห้องเรียน  ห้อง 112
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
5
29 สิงหาคม 2551
-  นำเสนอการทำเครื่องดื่มสมุนไพรและ
   รายงานผลการปฏิบัติงาน
ห้องเรียน  ห้อง 112
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา






เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
อุปกรณ์
1.  เครื่องปั่นน้ำผลไม้
2.  แก้ว
3.  หลอด
4.  ช้อนชา
วัสดุ
1.  มะกรูด
2.  เกลือกป่น
3.  น้ำเชื่อม
4.  น้ำแข็งปั่น
5.  น้ำ
วิธีการศึกษา
            1.  ศึกษาจากวิทยากรท้องถิ่น  โดยการสอบถามคุณป้าสุนีย์  สมูบรณ์โชคดี  และ                  ฝึกปฏิบัติทำน้ำมะกรูดปั่น
            2.  ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง  และคำบอกเล่าของผู้รู้
            3.  ประเด็นการศึกษา
                        -  ได้รู้ถึงสรรพคุณของมะกรูด
                        -  ได้รู้วิธีในการทำน้ำมะกรูด
ผลการศึกษา
            1.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
            2.  ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด





บทที่  4
ผลการศึกษา

1.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
2.  ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด




 บทที่  5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
            การศึกษาการทำน้ำมะกรูด  เป็นการนำสิ่งที่ใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นการฝึกให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  เพื่อที่จะนำมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
            1.  ได้ศึกษาการทำน้ำมะกรูด
            2.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
            3.  นำมาพัฒนาให้เกิดรายได้
ข้อเสนอแนะ
            จากการศึกษาโครงงานการทำน้ำมะกรูด  สามารถพัฒนาให้เป็นอาชีพเสริมได้











บัญชีรายรับ  รายจ่าย

รายรับ
รายจ่าย
ว/ด/ป
รายการ
จำนวนเงิน
ว/ด/ป
ลำดับ
รายการ
จำนวน
ราคา/หน่วย
จำนวนเงิน
หมายเหตุ
15/5/51
เก็บเงินสมาชิกในกลุ่มคนละ
5 บาท / คน
(มี 5 คน)
25 บ.
15/8/51
1
ซื้อน้ำตาล
น้ำแข็ง

รวมรายจ่าย
เหลือ
½ กก.
1 ถุง
18 บ.
10 บ.
8 บ.
10 บ.

19
6


เด็กหญิงณัฏฐพร  ทองเชื้อ                   หัวหน้า
                                                                        เด็กหญิงฐนันทิพย์  เตชะศิลปะภักดี   เลขา










บรรณานุกรม

น้ำผลไม้และเครื่องดื่มผสม.  ครั้งที่ 3.  กรุงเทพ สำนักพิมพ์แสงแดด , 2548. 128 หน้า



 ตัวอย่างโครงงานการงานอาชีพ ที่3
 เรื่อง

 เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส


คณะผู้จัดทำโครงงาน
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๒
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๕
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต           ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๗
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๒
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๗
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง     ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๓
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๒๔
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑๔
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช         ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๔
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต        ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑

คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
นาย จำรัส        เจริญนนท์
โรงเรียนบ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ  รหัสวิชา ง ๓๒๑๐๑



หัวข้อโครงงาน            เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
ผู้จัดทำ                       
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา      
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช        
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต         
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา      
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ       
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง  
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์      
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ 
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช       
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  นาย จำรัส    เจริญนนท์
โรงเรียน                     บ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา                 ๒๕๕๒

บทคัดย่อ
            โครงงานการงานอาชีพเรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว  ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน
ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีเกษตรต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์ชุมชนใกล้เคียง  เช่น  ผักกาด ผักหอม  เป็นต้น  เราสามารถนำมาปลูกและประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้
โดยสรุป  โครงงานเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่ออาหาร  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่  ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง   เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      

กิตติกรรมประกาศ
            การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครู  จำรัส      เจริญนนท์  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
            ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครูโรงเรียนบ้านโสกแดง  ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
            ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
            ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
            คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา  มารดาบูรพาจารย์  และผู้มีพระคุณทุกท่าน
                                                                                                                                   
                                                                                                            คณะผู้จัดทำ

  
บทที่  ๑
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  อยากมีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อที่จะได้ออก  สัมภาษณ์  ลงมือปฏิบัติจริง  และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส ด้วยตนเอง  และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  บ้านโสกแดง  บ้านโนนสะพัง  และมีควาเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต่าง  ๆ  มาก ๆ  และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องเกษตร  ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ  ๆมา

            วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  การศึกษาโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  พระราชดำรัส  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องเกษตรต่าง  ๆ ของพืชผักต่าง ๆ
เช่น ผักกาด  ผักหอม  เป็นต้น  ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก

            จากข้อความดังกล่าว  คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน  เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส ขึ้น

วัตถุประสงค์
๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจาอินเทอร์เน็ต
๒.   เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัสมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง

ความมุ่งหมายของการศึกษา
            เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ

ความสำคัญของการศึกษา
            ทำให้ทราบเรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตาแนวพระราชดำรัส  รู้เรื่องเกษตรต่าง  ๆ มากมาย

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม

นิยามศัพท์เฉพาะ
            เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
            พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
            พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ,  ฝึกฝน , และอบรม
            ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ,  เสาะหาเอามา
           
บทที่  ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง  ๆ  คือ  ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกาดขาว  ผักบุ้ง

หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชัน ม. ๒   ได้แก่  ความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน

หนังสือเสริมความรู้  เรื่อง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ได้แก่  ความรู้  เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด  มีแนวปฏิบัติแบบใด  ประยุกต์ได้แบบใด

บทที่  ๓
วิธีดำเนินงาน

วิธีดำเนินงาน

ลำดับขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาดำเนินการ
๑.กำหนดปัญหา๑๐  พ.ย  ๕๒
๒.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๑๑  พ.ย  ๕๒
๓.รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  สัมภาษณ์  ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  เป็นต้น๑๓  พ.ย  ๕๒
๔.ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต๑๕  พ.ย  ๕๒
๕.รวบรวมข้อมูลที่ได้๑๖  พ.ย   ๕๒
๖.จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง๑๗  พ.ย  ๕๒
๗.ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง๑๙  พ.ย  ๕๒
๘.นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน๒๒  พ.ย  ๕๒
๙.ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๒๓  พ.ย  ๕๒
๑๐.นำเสนอโครงงาน๓๐  พ.ย  ๕๒

บทที่  ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้า
            ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จากการ  สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้

บทที่  ๕
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ

            การศึกษาโครงงาน  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  สรุปผลได้
ดังนี้

สรุปผล
            จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้ศึกษาพืชผักต่าง  ๆ  จำนวน  ๙  ชนิด  คือ ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกวางตุ้งผักบุ้ง  ผักกาดขาว  ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  และอื่น  ๆ  ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  อ.แกดำ  จ.มหาสารคาม  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ทำให้รู้ถึง  ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาด
๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักหอม
๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักซี
๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักคะน้า
๕.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก พริก
๖.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  กะหล่ำปลี
๗.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกวางตุ้ง
๘.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาดขาว
๙.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  ผักบุ้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๕.    ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้อเสนอแนะ
๑.     ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว  ตำบลโนนภิบาล
๒.   อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด
๓.    อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่  และนำผักปลอดสารพิษออกขายในท้องตลาด



บรรณานุกรม

อินเทอร์เน็ต .WWW.GOOGLE.COM
ดร. ยุทธ     ไกยวรรณ์  และคณะ . หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน “การงานอาชีพ  และเทคโนโลยี”. พิมพ์ครั้งที่  ๓.กรุงเทพ ๒๕๔๔





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น